รมว.ศธ.มอบโล่ม.ศรีปทุม พัฒนา7 นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำ

รมว.ศธ.มอบโล่ม.ศรีปทุม พัฒนา7 นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำ

รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มงานวิจัยและแผนพัฒนาฯ ม.ศรีปทุม ได้รับโล่ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษายอดเยี่ยม น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ภายในงาน “Kickoff การสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการสร้างรายได้” โดยนวัตกรรมที่ทำให้ได้รับโล่เกียรติยศ 7 นวัตกรรม ได้แก่

1.นวัตกรรมที่ 1 คือ โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน จุดเด่น คือ การเชื่อมโยงชุมชน และสภาพแวดล้อมเข้าสู่ห้องเรียน

2.นวัตกรรมที่ 2 คือ IP2: Innovation + (Project Based Learning x Phenomenal Based Learning) โดยครูจะดึงกระแสสังคมหรือกระแสโลกมาสร้างเป็น theme ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ในการชวนพูดคุย และนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

3.นวัตกรรมที่ 3 เป็นแนวคิดเพื่อพัฒนาเครื่องมือ ที่เรียกว่า Self-directed Learning Package หรือ Blackbox เป็นชุดการเรียนรู้ใน Blackbox จะออกแบบเป็นบทเรียนแบบ Non-Electronic จุดเด่นคือบทเรียนที่เด็กสามารถเลือกเวลาเรียนเอง เลือกเรียนตามความสนใจ

รมว.ศธ.มอบโล่ม.ศรีปทุม พัฒนา7 นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำ

4.นวัตกรรมที่ 4 Galaxy of creativity เป็นระบบเพื่อเสริมสร้างและประเมินความคิดสร้างสรรค์เป็นแนวความคิด อยู่บนปรัชญาของความไร้กรอบขอบเขต

5.นวัตกรรมที่ 5 FAB Studio พื้นที่เรียนรู้ที่ออกแบบสร้างให้กับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล

6.นวัตกรรมที่ 6 Application ประเมินและให้คำปรึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแก่ผู้เรียน เป็นระบบการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนรายบุคคล ครูจะเข้าไปประเมินพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละตัวที่เป็นองค์ประกอบของสมรรถนะ และ

7.นวัตกรรมที่ 7 ยุวนวัตกรสร้างชาติ หรือ อสม. ด้านการศึกษา หรือครูชาวบ้าน เป็นนวัตกรรมส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบอิสระจากโครงสร้างปกติ เพื่อจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และแก้ปัญหาทุพโภชนาการในสถานการณ์ยากลำบากแก่เด็กประถม และพัฒนาทักษะต่างๆ ผ่านการเป็น อสม.

“7 นวัตกรรมประจัญบาน เป็นเครื่องมือสำคัญในการสู้รบเพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพทางการศึกษา ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยนวัตกรรมทั้ง 7 นี้ ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต ในการพัฒนาและการนำไปทดลองใช้ในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่นำร่องจ.สระแก้ว ซึ่งได้ดำเนินงานกับทุกโรงเรียนเต็มจังหวัดแบบ Whole Province Approach ที่ศธ.เรียกว่า สระแก้วโมเดล จนทำให้จังหวัดสระแก้วได้การรับรองให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาเป็นจังหวัดล่าสุดอีกด้วย” รศ.ดร.ธันยวิช กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ greekfreegames.com

UFA Slot

Releated